เรือนพื้นถิ่นภาคเหนือ
ลักษณะการตั้งถิ่นฐาน
1.หมู่บ้านป่าหรือชนบท : อยู่ห่างไกลจากทางสัญจรหลัก อาศัยหลักพึ่งพาอาศัยตนเอง
2.หมู่บ้านภูเขา : เป็นประเภทหมู่บ้านที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ในอดีตทำไร่เลื่อนลอย
3.หมู่บ้านริมน้ำหรือริมทาง : เดิมเป็นจุดแวะพักสำหรับคนเดินทางไกล เมื่อคนมากขึ้น มีเพิงพัก หรือการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ามากขึ้นก็เริ่มมีคนมาอยู่ ถาวร กลายเป็นหมู่บ้านในที่สุด
4.หมู่บ้านดอน : เกิดขึ้นห่างจากแม่น้ำลำคลอง ขุดสระหรือแหล่งน้ำเองภายในหมู่บ้าน
5.หมู่บ้านภายในหรือรอบเมืองตลาด : ตั้งอยู่บริเวณชานเมือง มีความเจริญในระดับหนึ่ง
6.หมู่บ้านในเขตเมือง : ได้รับค่านิยมและระบบสังคมสมัยใหม่
7.หมู่บ้านกระจาย : ตั้งหมู่บ้านอยู่ห่างกันกระจัดกระจายเป็นกลุ่มเล็กกลุ่มน้อย มีความเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมสูง
กาแล
พื้นไม้ตีเว้นร่องซึ่งเป็นลักษณะของพื้นนอกชานเพื่อระบายน้ำฝน เรือนไม้แบบเรือนจั่วแฝดสวยๆ (เรือนสองจ๋อง) ที่บ้านสันต้น แหนน้อย
เรือนกาแล
เรือนกาแลเป็นเรือนสำหรับผู้มีฐานะทางสังคม หรือผู้นําชุมชน หรือชนชั้นสูงในสังคม ตั้งแต่ระดับชนบทจนถึง ระดับเมือง (อนุวิทย์ เจริญศุภกุล, 2539: 11) เอกลักษณ์สําคัญของเรือนแบบนี้คือมีกาแลไม้แกะสลักอย่างสวยงามประดับบน ยอดจั่ว และเป็นเหตุให้เรียกเรือนประเภทนี้ว่า เรือนกาแล
เรือนกาแลปลูกสร้างด้วยไม้จริง มีความประณีตเรียบร้อยมากกว่าเรือนของสามัญชนทั่วไป มีแบบแผนการ สร้างที่ชัดเจน และเป็นระเบียบมากกว่าเรือนทั่วไป เรือนกาแลเหลืออยู่น้อยมากในปัจจุบัน และที่เหลือเก็บไว้ก็ด้วยเหตุผลด้าน อนุรักษ์ ส่วนเรือนกาแลที่ผู้คนใช้อยู่อาศัยกันจริงแทบจะหาไม่ได้แล้ว เพราะการเปลี่ยนแปลงค่านิยมการปลูกสร้างบ้านเรือน โดยเฉพาะในชนชั้นสูงในสังคมที่เคยเป็นกลุ่มที่ปลูกเรือนกาแลอยู่อาศัย ได้เปลี่ยนไปสร้างบ้านเรือนตามแบบกรุงเทพฯหรือ ตะวันตกเป็นส่วนมาก เป็นบ้านตึก ก่ออิฐฉาบปูน ด้วยเห็นว่าเป็นการแสดงออกว่ามีรสนิยมสูง หรือเห็นว่ามีความสะดวกในการ อยู่อาศัยมากกว่า สามัญชนที่พอมีฐานะ มีศักยภาพที่จะปลูกสร้างบ้านเรือนมีราคาได้ก็สร้างเรือนไม้ ทั้งเรือนบ่าเก่าและเรือน สมัยกลางกันมากกว่า โดยดัดแปลงไปจากเรือนกาแลในระยะแรก ก่อนจะเปลี่ยนแปลงไปจากเรือนกาแลอย่างสิ้นเชิงในระยะ ต่อมา
เฮือนกาแลที่เชียงใหม่ กาแล ไม้แกะสลักคู่ ติดไคว้บนยอดจั่ว
ลักษณะของเรือนกาแล
- ลักษณะเป็นเรือนแฝด หรือเรียกว่าสองหลังร่วมพื้นขนาด 5 ห้องเสา
- เรือนแฝดและเรือนครัวเชื่อมกัน แบบหลวมๆ และการประกอบเข้าด้วยกันของรูปทรงเป็นแบบ dynamic balance –เรือนแฝดกาแลไม่นิยมทำให้มีขนาดเท่ากันแต่ใหญ่กว่ากันเล็กน้อยโดยเรือนนอนพ่อแม่จะมีช่วงเสาด้านสกัด (Bay)กว้าง
กว่าเรือนอีกหลัง อาจมีผลมาจากความเชื่อ ที่เชื่อกันว่าถ้าทำเท่ากันแล้วผู้อาศัยจะแตกความสามัคคี
- การวางเรือนของเรือนกาแลและเรือนล้านนาอื่นๆ จะวางเรือนขวางตะวัน คือวางให้หันหน้าจั่วไปในแนวเหนือ-ใต้
-มีฮ่อมริน แล่นกลางระหว่างเรือน (รางน้ำ)
-มีเติ๋น (พื้นที่กึ่งเปิดโล่ง) ยกพื้น ใช้งานอเนกประสงค์ นั่งพักผ่อน ต้อนรับแขก เปรียบเสมือน Living Room
-ระเบียง และชาน ทำหน้าที่เชื่อมเรือนแต่ละหลังเข้าด้วยกัน และเป็นพื้นที่กิจกรรมกลางแจ้ง
-มีหน้าต่างน้อย และมีขนาดเล็ก