top of page

เรือนไทยภาคอีสาน

การตั้งถิ่นฐาน

 

      ภาคใต้ของประเทศไทยมีสภาพทางภูมิศาสตร์ที่แตกต่างไปจากภาคอื่น ๆ ของประเทศ กล่าวคือ มีลักษณะเป็นแหลมหรือคาบสมุทรยื่นออกไปจนจรดประเทศมาเลเซีย ล้อมรอบด้วยฝั่งทะเล โดยมีอ่าวไทยอยู่ทางฝั่งทะเลตะวันออก และทะเลอันดามันอยู่ทางฝั่งทะเลตะวันตก ด้านสภาพภูมิอากาศของภาคใต้เป็นอาณาบริเวณที่มีอากาศร้อนฝนตกชุก ความชื้นสูงมี 2 ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อนและฤดูฝน ในฤดูร้อนอากาศจะไม่ร้อนจัดเหมือนภาคอื่น เนื่องจากได้รับการถ่ายเทความร้อนจากลมทะเลที่พัดผ่านอยู่ตลอดเวลา ในฤดูฝนฝนจะตกชุกมากกว่าภาคอื่น ทั้งนี้เพราะได้รับลมมรสุมตะวันตกเฉียงเหนือ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ ลักษณะทางภูมิศาสตร์และภูมิอากาศดังกล่าวนี้ มีอิทธิพลสำคัญต่อการกำหนดรูปแบบเรือนพักอาศัยของประชาชนในภาคใต้ เช่น การออกแบบรูปทรงหลังคาให้คาให้ลาดเอียงมาก เพื่อระบายน้ำฝนจากหลังคาการการใช้ตอม่อหรือฐานเสาแทนที่จะฝังเสาเรือนลงไปในดิน ฯลฯ

      ด้านสภาพสังคมและวัฒนธรรม ประชากรในภาคใต้มีทั้งชาวไทยพุทธ ชาวไทยเชื้อสายจีน และชาวไทยมุสลิม ชาวไทยเหล่านี้มีขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะชาวไทยมุสลิมจะได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากประเทศเพื่อนบ้านที่มีอาณาเขตติดต่อกับภาคใต้ ได้แก่ มาเลเซีย ซึ่งส่งผลให้เรือนพักอาศัยของชาวไทยใน 4 จังหวัดภาคใต้ หรือ “เรือนไทยมุสลิม” มีลักษณะร่วมกับเรือนพักอาศัยทางตอนเหนือของมาเลเซีย  

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

องค์ประกอบของเรือนไทยภาคใต้

 

   ลักษณะเรือนไทยภาคใต้ (เรือนไทยมุสลิม)

 

   บ้านเรือนนับเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญของมนุษย์ เพื่อป้องกันอันตรายจากลมฟ้าอากาศและสัตว์ร้ายซึ่งต้องเหมาะสมกับลักษณะภูมิประเทศ ดินฟ้าอากาศ ตลอดจนจารีตประเพณีทางสังคม และรูปแบบการดำเนินชีวิต สำหรับเรือนไทยมุสลิม นอกจากจะสร้างขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ดังกล่าวแล้ว ยังสะท้อนให้เห็นอิทธิพลของศาสนาอิสลามที่มีต่อการสร้างบ้านเรือนอย่างแท้จริง ทั้งในรูปแบบการใช้พื้นที่ การอยู่อาศัย การประกอบกิจกรรมในการดำรงชีวิต และการประดับตกแต่งตัวเรือนให้งดงาม โดยทั่วไปเรือนมุสลิมมักเป็นเรือนแฝด และสามารถต่อขยายไปได้ตามลักษณะของครอบครัวขยาย โดยมีชานเชื่อมต่อกัน และมีการเล่นระดับพื้นเรือนให้ลดหลั่นกันไป เช่น พื้นบริเวณเฉลียงด้านบันไดหน้าแล้วยกพื้นไปเป็นระเบียง จากพื้นระเบียงจะยกระดับไปเป็นพื้นตัวเรือนจากตัวเรือนจะลดระดับไปเป็นพื้นครัว จากพื้นครัวจะลดระดับเป็นพื้นที่ซักล้าง ซึ่งอยู่ติดกับบันไดหลัง การลดระดับพื้นจะเห็นได้ชัดว่า มีการแยกสัดส่วนจากกันในการประกอบกิจกรรมต่าง ๆ บางตัวเรือนเมื่อสร้างตัวเรือนหลักเสร็จแล้ว ยังต้องกำหนดพื้นที่ให้เป็นบริเวณที่ใช้ทำพิธีละหมาด ซึ่งเป็นกิจวัตรที่ต้องกระทำวันละ 5 ครั้ง

ส่วนการกั้นห้องเพื่อเป็นสัดส่วนเรือนไทยมุสลิมจะกั้นแต่ที่จำเป็นนอกนั้นจะปล่อยพื้นที่ให้โล่ง เพราะชาวไทยมุสลิมใช้เรือนเป็นที่ประกอบพิธีทางศาสนา นอกจากนั้นยังไม่นิยมตีฝ้าเพดาน เพราะภาคใต้มีอากาศร้อนและฝนตกชุก อากาศจึงอบอ้าว และมักจะเว้นช่องลมใต้หลังคาให้ลมโกรกอยู่ตลอดเวลา การที่ตัวเรือนยกพื้นสูง ชาวไทยมุสลิมจึงสามารถใช้ใต้ถุนประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ที่ส่งเสริมการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี เช่น ใช้เป็นบริเวณประกอบอาชีพเสริม คือ ทำกรงนก สานเสื่อกระจูด หรืออาจใช้วางแคร่เพื่อพักผ่อน บางบ้านอาจกั้นเป็นคอกสัตว์ เป็นต้น

เนื่องจากประเพณีความเป็นอยู่ของชาวไทยมุสลิมจะแยกกิจกรรมของชายหญิงอย่างชัดเจน ตัวเรือนจึงนิยมมีบันไดไว้ทั้งทางขึ้นหน้าบ้านและทางขึ้นครัว โดยทั่วไปผู้ชายจะใช้บันไดหน้า ส่วนผู้หญิงจะใช้บันไดหลังบ้าน รวมทั้งเป็นการไม่รบกวนแขกในการเดินผ่านไปมาอีกด้วย ลักษณะเด่นทางสถาปัตยกรรมของเรือนไทยมุสลิม คือ การสร้างเรือนโดยการผลิตโดยการผลิตส่วนประกอบของเรือนก่อน แล้วจึงนำส่วนต่าง ๆ เหล่านั้นขึ้นประกอบกันเป็นตัวเรือนอีกทีหนึ่ง ขณะเดียวกัน เมื่อต้องการย้ายไปประกอบในพื้นที่อื่น ๆ ตัวเรือนก็สามารถแยกออกได้ส่วน ๆ ได้เสาเรือนจะไม่ฝังลงดิน แต่จะเชื่อมยึดต่อกับตอม่อหรือฐานเสาเพื่อป้องกันปลวก เนื่องจากมีความชื้นสูงมาก

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

   นอกจากนี้เรือนไทยมุสลิมยังแยกส่วนที่อยู่อาศัย (แม่เรือน) ออกจากครัว โดยใช้เฉลียงเชื่อมต่อกัน ทั้งนี้เพราะเชื่อว่าบริเวณแม่เรือนเป็นบริเวณที่สะอาด ส่วนบริเวณครัวนั้นสามารถทำสกปรกได้โดยง่ายแลยังสามารถดับเพลิงได้สะดวกเมื่อเกิดเพลิงไหม้บริเวณครัว โดยสรุป เรือนไทยมุสลิมมีลักษณะเฉพาะตัวที่มีคุณค่าทางสถาปัตยกรรม ดังนี้

1. หลังคาเป็นหลังคาทรงสูง มีความลาดชัน เพื่อให้น้ำฝนไหลผ่านโดยสะดวก โดยทั่วไปมี 3 แบบ คือ หลังคาจั่ว หลังคาปั้นหยา หลังคาจั่วมนิลา มีหารต่อชายคาออกไปคลุมบันได เนื่องจากฝนตกชุกมากในบริเวณภาคใต้

2. ไม่นิยมฝังเสาเรือนลงไปในพื้นดิน แต่จะใช้ตอม่อหรือบานเสาที่ทำโดยไม้เนื้อแข็ง ศิลาแลง หรือเสาก่ออิฐฉาบปูนรองรับ

3. วิธีสร้างเรือนจะประกอบส่วนต่าง ๆ ของเรือนบนพื้นดินก่อนแล้วจึงยกส่วนโครงสร้างต่าง ๆ ขึ้นประกอบเป็นตัวเรือนอีกทีหนึ่ง การสร้างเรือนวิธีนี้ทำให้สะอาดในการย้ายบ้าน ซึ่งนิยมย้ายบ้านทั้งหลังโดยใช้คนหาม โดยถอดส่วนที่มีน้ำหนักมากออกเสียก่อน เช่น ฝา กระเบื้องมุงหลังคา ฯลฯ

4. ไม่นิยมสร้างรั้วกั้นบริเวณเรือน แต่จะปลูกไม้ผล เช่น มะพร้าว มะม่วง ขนุน กล้วย เพื่อให้ร่มเงา และเป็นการแสดงอาณาเขตของบ้านเรือน ซึ่งนิยมสร้างแยกกันเป็นหลัง ๆ

5. การวางตัวเรือนจะหันหน้าเข้าหาเส้นทางสัญจรทั้งทางน้ำและทางบก ซึ่งสามารถรับลมบกและลมทะเลได้

6. นอกจากเรือนพักอาศัยแล้ว ยังมีอาคารประกอบบ้านเรือนอีกได้แก่ “ศาลา” ซึ่งมีรูปทรงของหลังคาคล้อยตามความนิยมของรูปแบบเรือนพักอาศัย เช่น หลังคาจั่ว หลังคาปั้นหยา ศาลาเหล่านี้จะสร้างขึ้นตามลักษณะการใช้สอย เช่น ใช้ประชุมหรือพบปะสังสรรค์ของชาวบ้านศาลาใช้สำหรับเป็นที่หลบแดดฝนระหว่างเดินทาง

7. สถานที่หรืออาคารประกอบตัวเรือนจะอำนวยความสะดวกในหารประกอบอาชีพของชาวใต้ เช่น เรือนชาวนาจะมียุ้งข้าวขนาดเล็กสำหรับเก็บข้าวเปลือกไว้หน้าบ้าน เรือนชาวสวนยางพาราจะมีโรงสำหรับทำน้ำยางให้เป็นแผ่นและที่ตากยาง เรือนชาวประมงจะมีที่ตากปลา เป็นต้น  

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

bottom of page