top of page

เรือนไทยพื้นถิ่น กับ บ้านสมัยใหม่

 

           ในอดีต เรือนไทยพื้นถิ่นสร้างขึ้นโดยอาศัยข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์ ภูมิประเทศ สภาพอากาศ รวมถึงสภาพสังคมและวัฒนธรรมความเชื่อของแต่ละพื้นที่ ดังนั้น รูปแบบสถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้น สามารถตอบโจทย์ความต้องการและความเหมาะสมในประเด็นต่างๆของการอยู่อาศัยได้ สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นผ่านรายละเอียดต่างๆที่ปรากฏบนอาคาร เช่น การวางอาคารแนวขวาง เพื่อลดความร้อนจากแสงอาทิตย์ที่จะส่องกระทบตัวบ้าน การเว้นช่องทางเดิน ชานระเบียง เพื่อกำหนดทิศทางลมที่พัดเข้าตัวเรือน มุมลาดเอียงของหลังคาเพื่อการระบายน้ำฝน การทำผนังตีเว้นร่องในครัวไฟเพื่อระบายความร้อน หรือข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์เช่นภูมิประเทศในภาคกลาง

           ภูมิประเทศที่เกี่ยวข้องกับการตั้งถิ่นฐานของชุมชนภาคกลางโดยตรงคือ การสร้างชุมชนให้อยู่ใกล้ หรือขนานไปกับแหล่งน้ำ เพราะผู้คนในอดีตต่างใช้น้ำเป็นเครื่องอุปโภคบริโภค รวมทั้งการเกษตรซึ่งถือได้ว่าเป็นหัวใจหลักของชุมชนภาคกลาง การแก้ปัญหาที่สำคัญคือการยกพื้นสูงกลายเป็นใต้ถุนเพื่อรองรับน้ำในฤดูน้ำหลาก  แต่ในเวลาปกติ จะถูกใช้เป็นพื้นที่เก็บของ พักผ่อน ประกอบกิจกรรมของบ้าน แทนชานระเบียง เนื่องจากความร้อนและแสงแดด แต่เมื่อมีบ้านสมัยใหม่ พื้นที่ตรงนี้ได้หายไป เมื่อเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมขึ้น เช่นปี 54 ที่ผ่านมา จึงสร้างความเสียหายมากกว่าบ้านเรือนไทยที่มีการยกพื้น โดยในอดีตมีน้ำท่วมเป็นปกติอยู่แล้ว การออกแบบเรือนไทยภาคกลางจึงยกพื้นอย่างที่ปรากฏ แม้แต่วัสดุก่อสร้างที่ใช้ในเรือนไทยภูมิภาคต่างๆ ซึ่งหาได้ง่ายในอดีตและในพื้นที่ ทุกอย่างทำให้เกิดความยั่งยืนในการอยู่อาศัยและใช้ชีวิตประจำวัน

          แต่เมื่อรูปแบบบ้านแบบตะวันตกได้เข้ามามีอิทธิพล แบบบ้านตะวันตกส่วนใหญ่มีการจัดองค์ประกอบและการใช้งานที่ลงตัวมาตั้งแต่แรก แต่ยังมีจุดบกพร่องบางอย่างที่ไม่เหมาะสมกับวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่นต่างๆ แม้ว่าบางแห่งจะมีการปรับปรุงแบบบ้านตะวันตกให้เหมาะสม เช่นการเปลี่ยนสลับการวางห้อง หรือปรับรายละเอียดโครงสร้างต่างๆ แต่เมื่อทำอย่างนั้น นอกจากจะแก้ปัญหาที่ปลายเหตุได้แล้ว ก็เป็นการลดประสิทธิภาพการทำงานของสถาปัตยกรรมทั้งในรูปแบบบ้านเรือนไทย และบ้านสมัยใหม่ เพราะเมื่อสองสิ่งนี้ไม่ได้ถูกปรับเปลี่ยนให้เข้ากันตั้งแต่เริ่มจากกระบวนการออกแบบ ก็แทบจะไม่สามารถทำงานด้วยกันได้ ดังนั้นจึงมีหลายคน หลายองค์กร พยายามคิดหาวิธีแก้ปัญหา และออกแบบบ้านที่อยู่กึ่งกลางระหว่างเรือนไทยพื้นถิ่น กับ บ้านสมัยใหม่ เกิดเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมอีกแบบหนึ่งซึ่งมีประสิทธิภาพมากกว่า และตอบโจทย์ในการอยู่อาศัยมากกว่า

ข้อดีของบ้านเรือนไทย-เหตุผลที่เรือนไทยในอดีตสร้างจากไม้เนื่องจากในอดีตมีวัสดุที่หาได้ง่ายที่สุดก็คือไม้ ดังนั้นบ้านเรือนต่างๆจึงใช้ไม้มาเป็นวัสดุหลักในการก่อสร้าง นอกจากนี้รูปแบบที่บ้านทรงไทยมีลักษณะยกพื้นสูง เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมและเป็นพื้นที่ทำกิจกรรมสำหรับครอบครัวขยาย เนื่องจากประเภทครอบครัวในอดีตของไทยจะมีจำนวนมากเป็นแบบครอบครัวขยาย   ในส่วนของที่พักอาศัยด้านบนจะมีช่องเปิด เพื่อรับลมและระบายอากาศ เหมาะสมกับภูมิอากาศและภูมิประเทศของประเทศไทยที่มีลักษณะร้อนและชื้น

 

เหตุผลของการเปลี่ยนแปลง-แต่เมื่อต่อมาการก่อสร้างเรือนไม้มีความซับซ้อนของการเข้าไม้ในแบบต่างๆ และทรัพยากรไม้มีจำนวนลดลง จึงเริ่มมีการอนุรักษ์ป่าไม้  ทำให้ไม้มีราคาแพงขึ้น คนส่วนใหญ่จึงเลือกที่จะก่อสร้างด้วยวัสดุสมัยใหม่ที่ได้รับอิทธิพลมาจากสถาปัตยกรรมตะวันตก ซึ่งสามารถก่อสร้างได้สะดวกและรวดเร็วมากกว่า  รวมถึงช่วยลดต้นทุนอีกด้วย

 

ข้อเสียของบ้านสมัยใหม่-บ้านสมัยใหม่ ได้รับอิทธิพลมาจากประเทศที่มีภูมิอากาศอยู่ในโซนหนาว ทำให้บ้านที่ถูกสร้างขึ้นมามีความอบอุ่นจากวัสดุที่สามารถกันลมและสภาพอากาศภายนอกได้ดีเช่นคอนกรีต และปูน จึงไม่เหมาะกับสภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศในเมืองไทย เพราะเป็นเขตร้อนชื้น มีอุณหภูมิสูงทั้งปี

 

   จากที่รูปแบบสถาปัตยกรรมได้เปลี่ยนแปลงไปตามอิทธิพลที่ได้รับมาจากต่างชาติ ทำให้ความเชื่อพื้นถิ่น และองค์ประกอบความเป็นสถาปัตยกรรมไทยในอดีตหายไปตามกาลเวลากลายเป็นสถาปัตยกรรมแบบใหม่ที่เห็นกันในปัจจุบัน ซึ่งตอบรับกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมและอาชีพของคนไทย ที่ปัจจุบันเป็นครอบครัวเดี่ยว และประกอบอาชีพเชิงพาณิชย์มากขึ้น  และเริ่มมีเทคโนโลยีต่างๆที่สร้างขึ้นมาเพื่อช่วยลดปัญหาในเรื่องของลักษณะภูมิประเทศ เรื่องเกี่ยวกับน้ำท่วม รวมถึงแก้ปัญหาเกี่ยวกับเรื่องของสภาพอากาศ ทำให้บ้านสมัยใหม่ในปัจจุบันเป็นที่นิยมมากกว่าบ้านเรือนไทยในอดีต

ข้อดี-ข้อเสีย-การเปลี่ยนแปลง-ความเหมาะสม:

© 2023 by Mission Gallery. Proudly created with Wix.com 

500 Terry Francois St. San Francisco, CA 94158

  • Facebook Clean
  • Twitter Clean
bottom of page