บ้านสมัยใหม่
ในปัจจุบันบ้านในประเทศไทย มีการเปลี่ยนแปลงจากอดีต
บ้านสมัยใหม่สะท้อนให้เห็นจากการวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีและวิศวกรรม ซึ่งจะเห็นได้จากวัสดุก่อสร้างใหม่ ๆ เช่น เหล็ก เหล็กกล้า คอนกรีต และ แก้ว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิวัติอุตสาหกรรม ที่ทำให้เกิดวิธีการก่อสร้างใหม่ ๆ เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 18
การใช้วัสดุก่อสร้างที่ทำให้สิ่งก่อสร้างแข็งแรงขึ้น เทคโนโลยีที่มีการพัฒนาทำให้ กระบวนการผลิตวัสดุ การแปรรูป และการก่อสร้าง มีทางเลือกและความสะดวกมากขึ้น
การก่อสร้างอาคารนั้นได้มีวิวัฒนาการมายาวนาน บ้านในถิ่นฐานของประเทศไทยนั้นเกิดขึ้นมาช้านาน ซึ่งเรามักเรียกการก่อสร้างบ้านแบบนี้ว่า "บ้านทรงไทย" ซึ่งเป็นการก่อสร้างตามความเหมาะสม ตามสภาพอากาศ วัสดุ พฤติกรรม สภาพสังคม และเทคโนโลยี ต่อมาสภาพแวดล้อมและปัจจัยได้เปลี่ยนไปจากเดิม จากไม้ซึ่งเป็นวัสดุหลัก เริ่มหายาก มีราคาสูงขึ้น และทัศนคติที่ต้องการสร้างบ้านแบบฝรั่ง ที่แลดูทันสมัย หรือที่เรียกว่า "บ้านปูน" เพราะมีความสะดวกสบาย เหมาะกับการอยู่อาศัย ซึ่งช่วงเวลาในการวิวัฒนาการจากบ้านทรงไทยมาเป็นบ้านปูนในปัจจุบันนั้นใช้เวลาประมาณ 50-70 ปี
ปัจจุบันสภาพแวดล้อม และปัจจัยเปลี่ยนไปจากเดิมค่อนข้างมาก อุณหภูมิตลอดปีเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก ร้อน หรือหนาว ทำให้ต้องใช้เครื่องปรับอากาศช่วย เพื่อให้สภาพอากาศภายในอาคารนั้นอยู่ในสภาวะอยู่สบาย (Passive Zone) หรืออุณหภูมิอยู่ประมาณ 25 องศาเซนเชียส ซึ่งโดยทั่วไปแล้วอากาศภายในอาคารจะอยู่ประมาณ 32 องศาเซนเซียสนั้น หมายถึงต้องใช้เครื่องปรับอากาศเพื่อรีดเอาความร้อนในอากาศออกประมาณ 7 องศาเซนเซียส อันเนื่องมาจากปัญหาจากโลกร้อน (Climate Change) ทำให้สภาพอากาศโดยทั่วไปนั้นมีอุณหภูมิสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งหมายถึง อาคารปูน ที่ก่ออิฐฉาบปูนนั้น ต้องจ่ายค่าไฟฟ้าสูงขึ้นตลอดเวลา และภัยพิบัติทางธรรมชาติ (Natural Disaster) เช่น แผ่นดินไหว สึนามิ พายุ ลูกเห็บ ฟ้าผ่า ดินถล่ม โคลนถล่ม ตลอดจนภัยร้อน ภัยหนาว เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้กระทบต่อการอยู่อาศัยในบ้านเรือนในปัจจุบัน และก็ยังมีแนวโน้มถี่ และรุนแรงมากยิ่งขึ้นตลอดเวลา
ขบวนการก่อสร้างบ้านแบบเดิมที่มีความสลับซับซ้อน วัสดุก่อสร้างนั้นมีราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อันเนื่องมาจากทรัพย์ทางธรรมชาติมีอยู่อย่างจำกัด ปริมาณวัสดุเสียเศษเป็นจำนวนมาก และการใช้แรงงานจำนวนมาก หลากหลายสาขา ก็มีแนวโน้มหายาก แรงงานขาดฝีมือที่ดี และมีราคาค่าแรงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้เป็นปัจจัยลบที่เข้ามากระทบต่อการก่อสร้างอาคารในยุคปัจจุบันเป็นอย่างมาก
บ้านไทย นาโน เฮ้าส์ เป็นทางเลือกหนึ่งของบ้านในอนาคต ที่จะช่วยตอบโจทย์ที่บ้านปัจจุบันนั้นไม่สามารถตอบโจทย์เหล่านั้นได้ เพราะบ้านไทย นาโน เฮ้าส์ เป็นการเปลี่ยนรูปแบบรูปทรงการก่อสร้าง (Process) เครื่องมือการก่อสร้าง (Equipment) และวัสดุก่อสร้าง (Materials) โดยใช้ผ้าใบเป็นไม้แบบ ตัดตามรูปทรงอาคารที่เป็นโดม หรือกลมมน ใช้โฟมพียู เป็นฉนวนป้องกันความร้อนจากภายนอก ซึ่งเป็นการป้องกันความร้อนที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด และใช้การพ่นคอนกรีต (Shotcrete) โดยเสริมเหล็กทำให้โครงสร้างมีความเป็นเนื้อเดียวทั้งผืน (Monolithic) ทำให้ทนทานและแข็งแรงต่อแรงกระทำได้เป็นอย่างดี โดยพื้นที่ใช้สอยอาคารมีขนาดเล็กแทนการสร้างบ้านหลังใหญ่โต แต่ไม่ได้ใช้งานแบบบ้านทั่วไป และหาคนดูแลบ้านได้ยาก หรือมีราคาแพง
ตัวอย่างการเปรียบเทียบบ้าน อดีต – สมัยใหม่ – อนาคต
ลักษณะตัวบ้าน
จำนวนผู้อยู่อาศัย
รูปทรงอาคาร
อุณหภูมิภายนอก
วัสดุอาคาร
หลังคา
ค่าความต้านทานความร้อน
พลังงาน
อัตราค่าพลังงาน
ป้องกันภัยพิบัติ
อนุรักษ์พลังงาน
คนดูแลบ้าน
แรงงานก่อสร้าง
ระยะเวลาก่อสร้าง
งบประมาณ
ทีมช่าง:
: เรือนหมู่ ขนาดใหญ่
: ครอบครัวใหญ่ 5-10 คน
: บ้านทรงไทย
: เย็นสบาย ประมาณ 25 องศา ตลอดปี
: ไม้ วัสดุท้องถิ่น หาได้ง่าย ใช้เครื่องมือง่ายๆ
: ยกสูง ป้องกันน้ำไหลย้อน อากาศไหล
: R = 0
: ไม้ และใต้จุดคบเพลิง
: หาได้เองตามธรรมชาติ
: น้ำท่วม โดยยกใต้ถุนสูง
: ไม่ได้พิจารณา
: หาง่าย มีจำนวนมาก
: หาง่าย ราคาต่ำ
: 8-10 เดือน
: งบประมาณบานปลาย
: ช่างไม้ทั่วไป