top of page

ลักษณะรูปแบบที่พักอาศัยในแต่ละรัชกาล

ลักษณะที่พักอาศัยในช่วงรัชกาลที่ ๑ – รัชกาลที๓

ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชสถาปนากรุงเทพมหานครขึ้นเป็นเมืองหลวงกรุงรัตนโกสินทร์ พระองค์มีพระราชประสงค์ที่จะทำให้กรุงเทพมหานครเป็นเหมือนกรุงศรีอยุธยาแห่งที่สอง มีการสร้างสถาปัตยกรรมที่สำคัญเลียนแบบกรุงศรีอยุธยา ส่วนบ้านพักอาศัย เรือนไทยที่คงเหลือจากสงครามก็ถูกถอดและนำประกอบใหม่

 

รัตนโกสินทร์ทที่สถาปนาขึ้นเมื่อพ.ศ. ๒๓๒๕ รับสืบทอดวัฒนธรรมการสร้างเรือนมาจากอาณาจักรศรีอยุธยาไม่ผิดเพื้ยน บ้านทรงไทยภาคกลางในยุคนั้นมักเป็นเรือน ๓ห้อง ยกใต้ถุนสูงพอเดินลอดได้ มีบันไดทอดลงสู่ท่าน้ำเพื่อสะดวกในการใช้น้ำทั้งดื่ม อาบและใช้สอยภายใน

บ้าน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

มาถึงสมัยรัชกาลที่๒ และรัชกาลที่๓เรือนไทยก็ยังไม่ต่างจากสมัยรัขกาลที่๑เท่าไหร่ ตัวอย่างแรกคือตำหนักแดง ของสมเด็จพระสุริเยนทรามาตย์ พระมเหสีในสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ

ลักษณะที่พักอาศัยในช่วงรัชกาลที่ ๔

สมัยรัชกาลที่ ๔ เริ่มมีการติดต่อกับชาติตะวันตกมากขึ้น มีการสร้างอาคารต่างชนิดเพื่อรองรับกิจกรรมทางธุรกิจนอกเหนือจากที่อยู่ อาศัยและวัดวาอารามในอดีต ได้แก่ โรงงาน โรงสี โรงเลื่อย ห้างร้านและที่พักอาศัยของชาวตะวันตก นอกจากนี้การสร้างอาคารของทางราชการ กระทรวงต่าง ๆ และพระราชวังที่มีรูปแบบตะวันตกผสมผสานกับสถาปัตยกรรมไทย เช่น พระที่นั่งจักรมหาปราสาท พระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นต้น

ซึ่งในช่วงนี้อิทธิพลตะวันตกในรัชกาลที่๔ส่งผลต่อที่อยู่อาศัยอย่างมาก บ้านทรงไทยแบบใหม่เปลี่ยนรูปจากเดิมไปเป็นแบบฝรั่ง เริ่มมีการก่ออิฐ ถือปูนชั้นร่าง แต่ชั้นบนเป็นไม้ มีระเบียงโปร่งรอบชั้นบน และหลังคาปั้นหยา

ลักษณะที่พักอาศันในช่วงรัชกาลที่ ๕

ในรัชกาลที่๕เรือนหลังคาปั้นหยาเริ่มมีกันหนาตาแทนบ้านทรงไทยโบราณ อย่างสมัยต้นรัตนโกสินทร์บ้านไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ ชั้นเดียวหรือสองชั้น นิยมสร้างประยุกต์แบบตะวันตกเข้ากับไทย คือสร้างด้วยไม้ยกพื้นกันน้ำท่วมแต่ใต้ถุนเตี้ยกว่าบ้านไทยเดิม

ลักษณะที่พักอาศัยในช่วงรัชกาลที่ ๖

รัชกาลที่๖เป็นยุคบ้านเมืองสงบราบรื่น เศรษฐกิจดี ชาวเมืองนิยมความประณีตงดงาม ประกวดประชันความหรูหราของเรือนแบบตะวันตก ได้รับอิทธิพลจากบ้านวิกตอเรียของอังกฤษโดยเฉพาะการตกแต่งด้วยลายฉลุที่เรียกว่าขนมปังขิง (Gingerbread) และเล่นรูปทรงตัวห้องมุข

หรก หรือ แปดเหลี่ยม

ลักษณะที่พักอาศัยในช่วงรัชกาลที่ ๗

รัชกาลที่๗เกิดการเผชิญปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำและความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง บ้านทรงไทยเริ่มลดความหรูหราเป็น เรียบง่าย ตัดความฉลุฟุ่มเฟือยออกไป หลังคานิยมจั่วตัด

 

 

ลักษณะที่พักอาศัยในช่วงรัชกาลที่ ๘

รัชกาลที่๘รูปแบบทรงบ้านทันสมัยแบบตะวันตก สมัยศตวรรษที่ ๒๐ เป็นบ้านสองชั้น แม้ว่าใช้ไม้ซึ่งเป็นวัสดุหาง่ายของไทย แต่หลังคาซ้อนกันหายชั้น มีหน้าต่างบานเกล็ด และกระจกสีเหนือหน้าต่างแบบฝรั่ง

bottom of page